วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บริษัทเคแอนด์จี วอเตอร์ จำกัดมหาชน

ยินดีต้อนรับครับ สนใจร่วมงานกับเรา ติดต่อได้ที่ 09-9998888

โครงการพัฒนาระบบบริษัทเคแอนด์จี วอเตอร์จำกัดมหาชน


เสนอ
อาจารย์นพศักดิ์  ตันติสัตยานนท์

จัดทำโดย
นายคเณศ ธีรตันติกุล รหัส 2581031441336
นายศุภลักษณ์ ทัศนากร รหัส 2571031441345
 

คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี   สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล





ประวัติความเป็นมา

               บริษัทเคแอนด์จี วอเตอร์จำกัดมหาชน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 เดือนเมษายน พ.ศ. 2530 เดิมมีชื่อว่า สองพี่น้อง จำกัดมหาชน ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ธันวามคม พ.ศ. 2540 ได้ตั้งชื่อเป็น บริษัทเคแอนด์จี วอเตอร์จำกัดมหาชน จนถึงปัจจุบัน

วิสัยทัศน์
                ทุกหยดสะอาด ด้วยคุณค่า น้ำบริสุทธ์

บทบาทและหน้าที่
1ฝ่ายผลิต
-             เป็นฝ่ายที่รับออเดอร์จากฝ่ายขาย แล้วทำการผลิตให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ
ปัญหาของฝ่ายผลิต
        -      เมื่อได้รับออเดอร์จากฝ่ายขาย เริ่มทำการผลิต แต่ผลิตไม่ทันเวลาและจำนวนที่ต้องการ
        -      ผลิตไม่ทันตามออเดอร์ลูกค้า ทำให้ล่าช้าในการส่งผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้า

2.ฝ่ายขาย
         -     เป็นฝ่ายที่ต้อนรับและรับออเดอร์จากลูกค้า เพื่อนำส่งให้ฝ่ายผลิต ผลิตภัณฑ์
ปัญหาของฝ่ายขาย
         -     ออเดอร์ล้นมือ ไม่สามารถตอบสนองลูกค้าให้ทันเวลาได้
         -     ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้
         -      ระบบข้อมูลลูกค้าเกิดความซ้ำซ้อน
         -      การจัดเก็บข้อมุลสินค้าไม่เป็นระบบ
        -      ข้อมุลที่ได้ไม่มีความชัดเจนแน่นอน


ปัญหาทั้งหมด
ของฝ่ายผลิตและฝ่ายขาย
-             ฝ่ายผลิต ผลิตไม่ทันทำให้ออเดอร์ลูกค้าล้นมือ
-             ฝ่ายผลิตล่าช้า ทำให้ไม่สามารถตอบสนองลูกค้าได้ตามความต้องการ


ลักษณะของสถานประกอบการหรือแหล่งรายรับ-รายจ่าย
-     รายรับที่ทางโรงน้ำได้รับคือการขายผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม
-      รายจ่ายที่เกิดจากการซื้อ ขวดบรรจุ,ค่าน้ำ,ค่าไฟฟ้า,ค่าแรงคนงาน,ค่าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

ขอบเขตของการพัฒนาระบบ
1.ระบบการผลิต
2.ระบบการขาย

การประเมินความต้องการของบริษัท
ตารางแสดงรายการการทำงาน(Functions)หรือกิจกรรมทั้งหมดของบริษัท
หน้าที่
หน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ระบบสารสนเทศ
(Function)
(DataEntities)
(Information System)
1.การวางแผนทางธุรกิจ
1.ลูกค้า
1.ระบบการจัดคลังสินค้า
2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์
2.สินค้า
2.ระบบการขาย
3.การขายและการตลาด
3.ผู้จัดจำหน่าย
3.ระบบบัญชี
4.การผลิต
4.วัตถุดิบ
4.ระบบจัดส่งสินค้า
5.การบัญชีการเงิน
5.ใบสั่งซื้อ
5.ระบบการผลิต
6.ทรัพยากรบุคคล
6.ใบกำกับสินค้า
7.การจัดส่งสินค้า
7.อุปกรณ์
แสดงการจำแนกกิจกรรม(Activates)ของหน้าที่ของการทำงาน(Functions)ในบริษัท


แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(Function-to-DataEntities)
หน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ลูกค้า
สินค้า
ผู้จัดจำหน่าย
วัตถุดิบ
ใบสั่งซื้อ
อุปกรณ์
ลูกจ้าง
ใบกำกับลูกค้า
หน้าที่ทางธุรกิจ
การขายและการตลาด
การวิจัยทางการตลาด
การกรอกใบสั่งซื้อ
การกระจายสินค้า
การบัญชีและการเงิน
การตั้งงบประมาณเงินลงทุน
บัญชีรายรับ
บัญชีรายจ่าย
ทรัพยากรมนุษย์
การจ้างงาน
การฝึกอบรม
การวางแผนธุรกิจ
การกำหนดกลยุทธ์
การกำหนดตลาด
ประสานงานแก่ลูกค้า
การพัฒนาผลิตภัณฑ์
การศึกษากลุ่มเป้าหมาย
การตรวจสอบวัตถุดิบ
การปรับเปลื่ยนผลิตภัณฑ์
การผลิต
การจัดส่งสินค้า
ข้อมูลลูกค้า
รายการใบสั่งซื้อ
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการค้นหาและเลือกสรรโครงการ
(ProjectIndentification and Selection)
1.ค้นหาโครงการที่ต้องการพัฒนา
จากการค้นหาโครงการของแผนกต่างๆสามารถรวบรวมโครงการพัฒนาระบบได้ทั้งหมด 3 โครงการดังนี้
ชื่อโครงการ
แผนก
1.โครงการพัฒนาระบบการผลิต
ผลิต
2.โครงการพัฒนาระบบขาย
การขาย

2.จำแนกและจัดกลุ่มโครงการที่ค้นหามา

                 เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของโครงการทั้ง 2 แล้ว พบว่าล้วนแล้วแต่มีประโยชน์กับบริษัทจึงจำเป็นต้องคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ของบริษัทมากที่สุด ดังนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการนำโครงการทั้ง 2 มาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อค้นหาโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด และสามารถบรรลุเป้าหมายของบริษัทได้ ดังรายละเอียดของตารางต่อไปนี้



วัตถุประสงค์(Objectives)
ระบบการผลิต
ระบบการขาย
1.เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น
*
2.เพื่อขยายกิจการ
*
3.เพื่อเพิ่มภาพลักษณ์ของบริษัท
*
*
4.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
*
*

3.
เลือกโครงการที่เหมาะสม(Selecting)

          จากตางรางเปรียบเทียบโครงการตามวัตถุประสงค์ของบริษัทพบว่าโครงการพัฒนาระบบการขายตรงตามวัตถุประสงค์ของบริษัทมากที่สุดแต่เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงงบประมาณและสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทแล้วเห็นควรว่าจะต้องนำโครงการทั้ง 2 มาพิจารณาตามข้อจำกัดเพิ่มเติมได้แก่ ขนาดของโครงการ และผลประโยชน์ที่ได้รับเนื่องจากหากโครงการใดมีขอบเขตกว้างหรือมีขนาดใหญ่หมายถึงต้องใช้งบประมาณสูง ทำให้เกิดต้นทุนสูงซึ่งปัจจุบันบริษัทยังไม่สามารถทำได้ แสดงรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
วัตถุประสงค์(Objectives)
ระบบสารสนเทศ
ระบบการผลิต
ระบบการขาย
และผลประโยชน์
(Information System)
วัตถุประสงค์ตามแผนกกลยุทธ์

1.เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น
*
2.เพื่อขยายกิจการ
*
*
3.เพื่อเพิ่มภาพลักษณ์ของบริษัท
*
*
4.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
*
*
ขนาดโครงการ

1.ขนาดเล็ก
*
2.ขนาดกลาง
*
3.ขนาดใหญ่
ผลประโยชน์

1.ลดภาวะของแผนกบัญชี
*
2.แต่ละแผนกสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
*
3.สามารถจัดทำรายการได้ตามความต้องการ
*
*
4.เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
*
*
5.สามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าได้
*
            จากการพิจารณาโครงการทั้ง 2 โครงการตามวัตถุประสงค์ ขนาดโครงการ และผลประโยชน์ จะพบว่าโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และให้ผลประโยชน์แก่บริษัทมากที่สุดคือ โครงการพัฒนาระบบการขาย จึงปฎิเสธโครงการทั้ง 2 ระบบ ถึงแม้ว่าจะให้ผลประโยชน์และสามารถนำบริษัทไปสู่เป้าหมายได้ แต่ทางบริษัทให้ชะลอไว้ก่อน เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ จึงต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมาก
การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
               แนวทางเลือกเพื่อนำระบบใหม่มาใช้งาน โดยจะบอกถึงรายละเอียดของระบบที่จะพัฒนามีดังนี้  ระบบขาย ระบบงานคลังสินค้า ระบบบัญชี ระบบจัดส่งสินค้า โดยมีแนวทางเลือกจำนวนทั้งสิ้น 2 ทางเลือก
               1.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
               2.ให้ทีมงานของเราพัฒนาระบบเอง
ทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้ที่ดีที่สุด




สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร

               ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาเองเนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจานี้ยังจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานหรือรองรับการเปลี่ยนแปลงการทำงานในระบบได้ และสามารถคอยกำกับดูแลการทำงานให้ตรงไปตามวัตถุประสงค์ได้อย่างที่วางไว้

การวางแผนโครงการ(Project Planning)
เป้าหมาย
               นำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานขายมาใช้งานในโรงงานเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า

วัตถุประสงค์
               โครงการพัฒนาระบบการขายมีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาให้เป็นระบบงานขายที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

ขอบเขตของระบบ
               โครงการพัฒนาระบบการขายได้มีการจัดทำขึ้นโดยทีมงานพัฒนาสารสนเทศภายในโรงงาน พร้อมนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ระบบจะต้องแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน แต่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
2. ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
3.ระบบต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้

ปัญหาที่พบในระบบเดิม
1.การจัดเก็บข้อมูลลูกค้าการค้นหาข้อมูลเกิดความซ้ำซ้อน
2.การจัดเก็บข้อมูลสินค้าไม่เป็นระบบ
3.ข้อมูลที่ได้ไม่มีความชัดเจนและแน่นอน
4.การทำงานของพนักงานแต่ละฝ่ายไม่มีความแน่นอน

ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ
1.ความรวดเร็วในการทำงานของระบบใหม่
2.สามารถเก็บและตรวจสอบข้อมูลลูกค้า สินค้าได้
3.สามารถเพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของสินค้าและข้อมูลลูกค้าได้
4.ให้การบริการแก่ลูกค้าในการซื้อขายเช่น การส่งสินค้า การออกใบเสร็จ เป็นต้น
5.การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานทุกฝ่ายเช่น การขาย การผลิต จัดส่ง เป็นต้น
6.การจัดทำรายงานสรุปที่สะดวกรวดเร็วในการเสนอต่อผู้บริหาร

ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
1.บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
2.บริษัทสามารถตัดสินใจในการจัดจำหน่ายสินค้าได้
3.บริษัทมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น
4.ขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่มีความรวดเร็ว
5.ขั้นตอนการซื้อ-ขายสินค้ามีความถูกต้อง ชัดเจน และรวดเร็วในการทำงาน
6.การติดต่อลูกค้าได้สะดวกรวดเร็วเพราะเรามีข้อมูลของลูกค้า
7.สามารถจัดเก็บข้อมูลสินค้า ทำให้การซื้อ-ขายสินค้าได้รวดเร็วและถูกต้อง
8.การทำงานของพนักงานเป็นระบบมีประสิทธิภาพ
9.สามารถรับรองการขยายบริษัทต่อไปได้
10.ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในการซื้อสินค้า และมอบความน่าเชื่อถือให้กับบริษัท

แนวทางในการพัฒนา
          การพัฒนาระบบของบริษัทเคแอนด์จี วอเตอร์ เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของการจำหน่ายน้ำดื่มและในส่วยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นการทำงานของพนักงานในแต่ละหน้าที่ ซึ่งบางครั้งการทำงานขั้นตอนต่างๆอาจมีเอกสารหรือข้อมูลที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ดังนั้นจึงได้มีการวิเคราะห์ระบบงานใหม่เพื่อความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการทำงาน ก่อนที่เราจะมาวิเคราะห์ระบบต้องทำการจำลองหรือศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่และขอมูลทั้งหมดว่า ระบบที่เราต้องการวิเคราะห์เหมาะสมกับระบบงานเดิมของบริษัทหรือไม่ซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้
1.  การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
2.  การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
3.  การวิเคราะห์ระบบ
4. การออกแบบเชิงตรรกะ
5.  การออกแบบเชิงกายภาพ
6.  การพัฒนาและติดตั้งระบบ
7. การซ่อมบำรุงระบบ

ขั้นตอนที่ 1 กรค้นหาและเลือกสรรโครงการ(Project Identification and Selection)
                เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องในบริษัท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างการบริหารงานบริษัทเคแอนด์จี วอเตอร์ ข้อมูลดังที่กล่าวมาข้างต้น ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
-    การขายสินค้า
-    การจัดเก็บสินค้าและการแยกประเภทของสินค้า
-    การจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าและข้อมูลของสินค้า

ขั้นตอนที่ 2 การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
                                  เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงาน
แต้ล่ะคนอย่างชัดเจนเพื่อรวมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากมายซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
                                  1.เริ้มต้นทำโครงการ ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระเดิมในการทำงานก่อน
                                  2.กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกให้กับระบบใหม่มาใช้
                                  3.วางแผนการทำงานของระบบงานใหม่
ขั้นตอนที่ 3การวิเคราะห์
               1.ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิมดูว่าการทำงานของร้าน มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช่อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิม และระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบซื้อ-ขายสินค้า
               2.การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช่ระบบ ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
               3.จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้ เมื่อเรารวบรวมมาได้แล้วก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ

ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบเชิงตรรกะ
                                  เป็นขั้นตอนในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ล่ะส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน ซึ่งในการออกแบบระบบ ระบบงานใดในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อวิเคราะห์ขบวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่น ในการซื้อขายก็จะมีฟอร์มในการซื้อขายสินค้าให้ลูกค้ากรอก หรือแม้แต้แบบฟอร์มในการกรอกข้อมูลของสินค้าและการออกแบบฐานข้อมูลในโปรแกรมต่างๆ

ขั้นตอนที่ 5 การออกแบบเชิงกายภาพ
                                  ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบงานในเทคนิคโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการปรับปรุงระบบอาจเป็นระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจในขั้นตอนการทำงานมากขึ้น ซึ้งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค้การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป

ขั้นตอนที่ 6 การพัฒนาและติดตั้งระบบ
            ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่ อาจนำโปรแกรมที่สำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้ หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของร้านหรือไม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
                                  1. เขียนโปรแกรม
                                  2. ทดสอบโปรแกรม
                                  3. ติดตั้งระบบ
                                  4. จัดทำเอกสาร สรุปการทำงานของระบบ

ขั้นตอนที่ 7 การซ่อมบำรุงระบบ
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
        เป็นขั้นตอนในการนำข้อมูลเฉพาะของการออกแบบมาทำการเขียนโปรแกรมเพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะ และรูปแบบต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้   หลังจากเขียนโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว    นักวิเคราะห์จะต้องทำการทดสอบโปรแกรม     ตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา   และสุดท้ายคือการติดตั้งระบบไม่ว่าจะเป็นระบบใหม่หรือเป็นการพัฒนาระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยทำการติดตั้งตัวโปรแกรม ติดตั้งอุปกรณ์พร้อมทั้งจัดทำคู่มือและจัดเตรียมหลักสูตรอบรมให้แก่ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง
       
เมื่อผ่านการขั้นตอนต่าง ๆ ไมว่าจะเป็นการศึกษา การวิเคราะห์และการอกแบบระบบ ซึ่งเป็นขั้นตอนใหญ่ที่มีความสำคัญมากในการที่ระบบจะได้รับการพัฒนาเป็น  ระบบใหม่หรือไม่สำหรับขั้นตอนหลัง  จากผ่านการวิเคราะห์และออกแบบระบบมาแล้ว  คือ การติดตั้งระบบที่ได้มีการศึกษาวิเคราะห์และออกแบบเรียบร้อยแล้วซึ่งได้แก่การวางแผน การติดตั้งระบบใหม่ที่ได้ทำการพัฒนามาแล้ว ซึ่งจะได้ศึกษากันในบทนี้การวางแผนการติดตั้งระบบ

วิธีการติดตั้ง
       การติดตังแบบกระจาย

ขั้นตอนการซ่อมบำรุงระบบ
        เป็นขั้นตอนเพื่อการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น และต้องทำการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น รวมทั้งเป็นขั้นตอนเพื่อการปรับปรุงดัดแปลงหรือแก้ไขทั้งโปรแกรม นอกจากนี้ยังปรับปรุงให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ เช่น รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปหรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี กิจกรรมการซ่อมบำรุง มี 4 ขั้นตอน
1. เก็บรวบรวมคำร้องขอให้ปรับปรุงระบบ
2. 
วิเคราะห์ข้อมูลการร้องขอเพื่อการปรับปรุง
3. 
ออกแบบการทำงานที่ต้องงการปรับปรุง
4. 
ปรับปรุงระบบ

ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
               ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับมอบหมาย อาจจะเป็นบุคคลที่มีความรู้ในด้านของระบบที่ต้องการเปลี่ยนแปลงที่ทำงานอยู่ในบริษัท ให้ทำการวิเคราะห์ระบบซึ่งบุคคลจะต้องดำรงตำแหน่งเกี่ยวกับการดูแลระบบ เช่น
               1.นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องของการทำงานของระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้ พนักงานหรือทีมโปรแกรม จัดทำเอกสารของระบบรวมถึงการทดสอบโปรแกรมของระบบ
               2.โปรแกรมเมอร์ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง รวมทั้งทดสอบโปรแกรมของระบบใหม่
ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
               ปัจจุบันทางบริษัทได้นำเทคโนโลยีหลายอย่างมาใช้ในการบริหารงาน ซึ้งปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้
               1.ระบบโปรแกรม 1 ระบบ
               2.เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่ายตามที่บริษัทต้องการ
               3.บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานของโปรแกรม
               4.อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ

สรุปงบประมาณที่ใช้ของแต่ละฝ่ายดังนี้
1.ในส่วนของผู้บริหาร
               - ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
               - นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์ 60000

2.แผนกทุกแผนกที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบ
               - ค่าการฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับระบบใหม่ 25000
3.การจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ
               - เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้ในการลงระบบ 80000
               - อื่นๆ 20000
ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
               ระยะเวลาในการดำเนินงานการวิเคราะห์ระบบของบริษัทเคแอนด์จี วอเตอร์ จำกัด มหาชน ที่ต้องการนำระบบมาใช้ในการทำงานในส่วนของระบบเพื่อความสะดวกในส่วนของบริษัทและลูกค้า ซึ่งก่อนที่จะได้เริ่มทำงานเราจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาขั้นตอนต่างๆ เป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน คือเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง กรกฎาคม 2558 ซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดการดำเนินงานได้ดังนี้

รายการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ระบบการขาย
ข้อมูลจากบริษัทรุ่งทิพย์เจริญกิจ จำกัด มหาชน
ที่
รายการ
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
1
กำหนดระบบที่ต้องการพัฒนาใหม่
*
2
วิเคราะห์ระบบ
*
3
ศึกษาข้อมูลระบบของบริษัท
*
*
4
กำหนดปัญหาและความต้องการของระบบใหม่
*
5
ออกแบบระบบ
*
6
ออกแบบฟอร์มและรายงานต่างๆ
*
7
ออกแบบฐานข้อมูล
*
*
*
8
นำเสนอข้อมูล
*
9
พัฒนาติดตั้งโปรแกรมและเขียนโปรแกรม
*
10
ทดสอบโปรแกรม นำเสนอในรูปแบบงานเอกสาร
*
11
ติดตั้งระบบ สรุปผลและนำเสนอโครงการ
*

ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
              จากการดำเนินการดังกล่าวระยะเวลาที่ใช่จริง ๆ  ในการวิเคราะห์อาจไม่พอแต่เพื่อเป็นการสรุปแบบคร่าว ๆ  เราได้ดำเนินการอะไรไปบ้างและระบบใหม่ที่ได้จะเสร็จภายในกี่วัน ซึ่งเราได้ยกตัวอย่างไปแล้ว

รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร
จากการศึกษาปัญหาที่พบจากระบบเดิมของบริษัทเคแอนด์จี วอเตอร์ ส่วนใหญ่บริษัทเคแอนด์จี วอเตอร์ จะมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้แล้วบางส่วนแต่บางระบบก็ต้องการระบบที่มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นดังนั้นทางบริษัทรุ่งทิพย์เจริญกิจจึงมีการจัดทำระบบใหม่ขึ้น เมื่อเราทำการวิเคราะห์ระบบแล้วขั้นตอนต่าง ๆ  ที่เราได้ก็จัดทำรายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร เพื่อให้ทราบขั้นตอนต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ซึ่งจะมีขั้นตอนประกอบย่อย ๆ  เพื่อความเข้าใจง่าย 4 ด้านดังนี้
1.ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
               ในส่วนนี้อาจจะเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ของระบบเดิมว่ามีการใช้ส่วนใดบ้าง เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้งานในด้านต่างๆ และอุปกรณ์อื่นๆ

2.ความเป็นไปได้ทางด้านการปฎิบัติงาน
               ทำการศึกษาทางด้านต่างๆ ในการปฎิบัติงานของผู้ใช้ของระบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับบริษัท ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการทดสอบ และการทดลองของระบบว่าระบบใหม่นี้ มีผลกระทบต่อการทำงานของบริษัทอย่างไร จากการทำงานของนักวิเคราะห์ระบบผลที่ได้ประสบผลสำเร็จระบบที่ได้เป็นไปตามความต้องการของบริษัท

การกำหนดความต้องการของระบบ(System Requirements Determination)
               การกำหนดความต้องการของระบบ ในการกำหนดความต้องการในครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม สำหรับวิธีการออกแบบสอบถาม ทีมงานสามารถกำหนดคำถามที่ต้องการได้ตรงประเด็น เหมาะกับผู้จัดการแผนกที่มีเวลาให้สัมภาษณ์น้อย และผู้ตอบแบบสอบถามมีอิสระในการให้คำตอบ ซึ้งบุคคลที่ทางทีมงานเลือกที่จะออกแบบสอบถามมีดังนี้

ออกแบบสอบถาม(Questionnaire)

               บุคคลที่ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้จัดการแผนกต่างๆ การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ไม่รบกวนเวลาของผู้จัดการมากนัก ผู้ตอบแบบสอบถามจะมีอิสระในการให้ข้อมูลดังตัวอย่าง


 


แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ(Process Modeling)
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่(System RequirmentStructering)

จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบด้วย DFD

              จากการวิเคราะห์ความต้องการระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบ โดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD)



 อธิบาย Context Diagram 
               จาก Context Diagram เคแอนด์จี วอเตอร์ซึ่งสัญลักษณ์ Process จะใช้แทนการทำงานทุกขั้นตอนของระบบนี้ โดย External Agents ที่เกี่ยวข้องกับระบบนี้ ได้แก่ กายขาย ผู้จัดการ ฝ่ายผลิต ซึ่งมีข้อมูลรับเข้าและส่งออก ระหว่าง External Agents ดังกล่าวกับระบบทำให้ทราบโดยภาพรวมว่าระบบนี้ทำอะไรได้บ้าง และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง สามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บน Data Flows เข้าออกระหว่าง External Agents ของระบบได้ดังนี้
1.การขาย
               - ทำการส่งข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการสั่งซื้อสิ้นค้าและ ใบเสร็จ ไปยังตัวระบบ
               - ตัวระบบจะทำการส่งข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลสินค้า รายการสั่งซื้อไปยัง การขาย
2.ผู้จัดการ
               - ทำการส่งข้อมูล ใบเสร็จแสดงรายละเอียดสินค้า ไปยังตัวระบบ
               - ตัวระบบจะทำการส่งข้อมูลลูกค้ากลับไปยัง ผู้จัดการ
3.ฝ่ายผลิต
               - ทำการส่งข้อมูลอัตราการผลิตทั้งหมด ไปยังตัวระบบ

               - ตัวระบบจะทำการส่งข้อมูลจำนวนการผลิตทั้งหมดไปยัง ฝ่ายผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น